วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556


หลักการทำงานของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ
( r% l* x/ T/ i! k3 E" {& g3 G$ I4 G
       เครื่องยนต์ 2 จังหวะคือ เครื่องยนต์ที่ เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 1 รอบได้กำลังงาน 1 ครั้ง ทำงานครบ 1 กลวัตร ได้แก่ การดูดกับการอัด และการระเบิดกับการคาย
         ลูกสูบเลื่อนขึ้นได้การดูดกับการอัด
         ลูกสูบเลื่อนขึ้นจากศูนย์ตายล่าง (B.D.C.) ขอบบนของลูกสูบปิดช่องส่งถ่ายไอดี ภายในห้องแคร้งเกิดสุญญากาศ ดูดไอดี ผ่านตัวบรรจุไอดี เข้ามาในห้องแคร้งเป็นการดูด
           ขณะที่ลูกสูบเลื่อนขึ้นจนขอบบนของลูกสูบปิดขอบบนของช่องไอเสีย และลูกสูบเลื่อนขึ้นต่อไปจนถึงศูนย์ตายบน (T.D.C.) เป็นการอัด        

      ลูกสูบเลื่อนลงได้การระเบิดกับการคาย   
        ก่อนที่ลูกสูบเลื่อนขึ้นถึงศูนย์ตายบน(T.D.C.)เล็กน้อย หัวเทียนเกิดประกายไฟ เผาไหม้ไอดีให้ระเบิดเป็นแก๊สขยายตัวผลักดันให้ลูกสูบเลื่อนลง จนกระทั่งขอบบนของลูกสูบจะเริ่มเปิดขอบบนของช่องไอเสีย เป็นการระเบิด
         เมื่อลูกสูบเลื่อนลงต่อไปจนขอบบนของลูกสูบเปิดช่องไอเสีย ทำให้ไอเสียออกทางช่องไอเสีย ด้วยแรงดันของตัวเอง เป็นการคายส่วนหนึ่ง ในขณะที่ลูกสูบเลื่อนลง ไอดีในห้องแคร้ง ถูกอัดตัวและลูกสูบเลื่อนลงต่อไป จนขอบบนของลูกสูบเปิดช่องส่ง ถ่ายไอดี ทำให้ไอดีในห้องแคร้งไหลเข้าห้องเผาไหม้ และ ไปขับไล่ไอเสียออก เป็นการคายอีกส่วนหนึ่ง

เครื่องยนต์ 2 จังหวะ (อังกฤษTwo-stroke engine ) คือเครื่องยนต์ที่ทำงาน 2 ช่วงชัก คือช่วงชักที่ 1 คือช่วงชักดูดกับอัด และ ช่วงชักที่ 2 คือช่วงชักระเบิดและคาย และเครื่องยนต์ 2 ช่วงชักจะไม่มีวาล์วเปิดปิดไอดีไอเสีย แต่จะใช้ลูกสูบเป็นตัวเปิดปิดไอดีไอเสียแทน ซึ่งเครื่องยนต์ 2 ช่วงชักจะทำงานรอบจัดกว่าเครื่องยนต์ 4 ช่วงชัก และการเผาไหม้ก็มีประสิทธิภาพด้อยกว่าด้วย

[แก้]ช่วงชักการทำงานของเครื่องยนต์ 2 ช่วงชัก

สามรถอธิบายโดยละเอียดได้ดังนี้
ช่วงชักที่ 1 
ดูด/อัด:ลูกสูบเคลื่อนที่ลงจากศูนย์ตายบนสู่ศูนย์ตายล่าง ในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลงมานั้นจะจะทำให้ช่องพอร์ตไอดีเปิดไอดีถูกอัดจากห้องแคร้งค์ผ่านเข้ามาบรรจุในห้องเผาไหม้ในตอนนี้ช่องพอร์ตไอเสียจะเปิดออกด้วยเชื้อเพลิงที่เข้ามาจะช่วยขับไอเสียจากการเผาไหม้ด้วย ในการทำงานดังกล่าวเพลาข้อเหวี่ยงทำงาน1/2 รอบ (ครึ่งรอบ)
ช่วงชักที่ 2 
ระเบิด/คาย:ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นจากศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบนทำให้ช่องพอร์ตไอดีและพอร์ตไอเสียปิดอัดเอาเชื่อเพลิงให้มีปริมาตรเล็กลงในห้องเผาไหม้ หัวเทียนส่งประกายไฟจุดระเบิดเชื้อเพลิงลูกสูบเคลื่อนที่ลงเพราะแรงระเบิดทำให้ลูกสูบอัดเชื่อเพลิงในห้องแคร้งค์แล้วถูกอัดเข้ามาเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงจนพอร์ตไอดีและพอร์ตไอเสียเปิดเชื้อเพลิงจะขับไล่ไอเสียออกด้วย เพลาข้อเหวี่ยงหมุนครบ 1 รอบ พอดี

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ (อังกฤษFour-stroke engine) เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้ในรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก ที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้ภายใน สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน(อังกฤษpetrol engine หรือ gasoline engine) ไอของน้ำมันจะถูกอัดแล้วถูกจุดระเบิดโดยหัวเทียน
"ไอดี" คือส่วนผสมของไอระเหยหรือละอองน้ำมันเบนซินผสมกับอากาศ ไอดีจะถูกดูดเข้ากระบอกสูบหรือฉีดเข้ากระบอกสูบโดยหัวฉีดในช่วงชักดูด และไอดีจะถูกอัดให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 700-900 องศาเซลเซียส แล้วไอดีถูกจุดระเบิดโดยประกายไฟประมาณ 25,000 โวลต์ จากเขี้ยวหัวเทียน เรียกช่วงชักนี้ว่าช่วงชักระเบิด หรือ "ช่วงชักงาน" แรงระเบิดทำให้ลูกสูบเลื่อนลง เครื่องยนต์ได้งานในช่วงชักนี้ ทำให้เพลาข้อเหวี่ยงเกิดการหมุน เป็นการเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกล ช่วงชักคายลูกสูบเลื่อนขึ้น ลิ้นไอดี "ปิด" ลิ้นไอเสีย "เปิด" ไอเสียออกจากกระบอกสูบทางลิ้นไอเสีย ผ่านท่อไอเสีย ออกสู่บรรยากาศ เครื่องยนต์ทำงาน ครบ 4 ช่วงชัก
หลักการทำงานของเครื่องยนต์ที่ทำงาน 4 จังหวะ (4 ช่วงชัก) แบ่งออกได้ดังนี้

  1. ช่วงชักดูด หรือจังหวะดูด : ลูกสูบเลื่อนลง จากศูนย์ตายบน ลงสู่ศูนย์ตายล่าง ลิ้นไอดีเปิด เพื่อดูดไอดีเข้ามาในกระบอกสูบ ลิ้นไอเสียปิด
  1. ช่วงชักอัด หรือจังหวะอัด : ลูกสูบเลื่อนขึ้น จากศูนย์ตายล่าง ขึ้นสู่ศูนย์ตายบน ลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียปิดสนิท ไอดีถูกอัดให้ร้อน 700-900 องศาเซลเซียส
  1. ช่วงชักระเบิด หรือจังหวะระเบิด : ลูกสูบเลื่อนขึ้นใกล้ศูนย์ตายบน หัวเทียนจุดประกายไฟเผาใหม้ไอดีเกิดการระเบิดขึ้นในห้องเผาใหม้ แรงระเบิดทำให้ลูกสูบเลื่อนลง จากศูนย์ตายบน ลงสู่ศูนย์ตายล่าง ทำให้เพลาข้อเหวี่ยงเกิดการหมุน เครื่องยนต์ได้งานในช่วงชักนี้ เรียกอีกชื่อหนึงว่า "ช่วงชักงาน" เป็นการเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกล
  1. ช่วงชักคาย หรือจังหวะคาย : ลูกสูบเคลื่อนที่จากศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบน ลิ้นไอดีปิด ลิ้นไอเสียเปิด แก๊สไอเสียออกจากกระบอกสูบผ่านลิ้นไอเสีย, ท่อไอเสีย และออกสู่ชั้นบรรยากาศภายนอกเครื่องยนต์


หลักการทำงานของเครื่องยนต์

ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
Fuel System
          ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นระบบที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำมันเข้าสู่เครื่องยนต์ ประกอบด้วย ถังน้ำมันเชื้อเพลิง
          น้ำมันเชื้อเพลิง กรองน้ำมันเชื้อเพลิง ปั้มน้ำมันเชื้อเพลิง และคาร์บูเรเตอร์ หรือหัวฉีด
          ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน (gasoline fuel system) เป็นระบบการป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงของ
          เครื่องยนต์แก๊สโซลีนซึ่งประกอบด้วย ถังน้ำมัน(fuel tank) ปั้มน้ำมัน(fuel pump) และคาร์บูเรเตอร์
          ( carburator) หรือหัวฉีด(injector) ถ้าเป็นระบบหัวฉีด
          ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล (diesel fuel system) เป็นระบบน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลซึ่ง
          ประกอบด้วย ถังน้ำมัน ปั้มน้ำมัน กรองน้ำมัน ปั้มหัวฉีด และหัวฉีด
          น้ำมันเบนซิน เมื่อผ่านกระบวนการกลั่นจะต้องปรับปรุงให้มีคุณภาพป้องกันการน๊อคด้วยการผ่านกระบวน
          การแปรรูปน้ำมัน
          คุณสมบัติของน้ำมันเบนซิน
          สตาร์ทติดง่าย
          มีอัตราส่วนผสมที่พอเหมาะ ในน้ำมันเบนซินจะต้องมีสารบางชนิดเพื่อทำให้มีการระเหยตัวยาก เป็นการ
          ป้องกันการเกิดเวเปอร์ล็อค(vapor lock)
          ไม่เกิดอาการเวเปอร์ล็อค
          เร่งเครื่องยนต์ได้เรียบอย่างสม่ำเสมอ
          อุ่นเครื่องยนต์ได้อย่างรวดเร็ว
          การเกิดเวเปอร์ล็อค เกิดจากการระเหยกลายเป็นไอของน้ำมันเชื้อเพลิงเนื่องจากมีค่าออกเทนต่ำและได้
          รับความร้อน ไอระเหยที่เกิดขึ้นส่วนมากจะเกิดขึ้นระหว่างถังน้ำมันกับปั้มเชื้อเพลิง จะมีลักษณะเป็นฟอง
          อากาศ ทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงไหลไม่สม่ำเสมอและเครื่องยนต์เดินเบาไม่เรียบ
          วิธีแก้ไข

          
1. ต่อท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้ติดตั้งอยู่ห่างจากท่อไอเสียหรือหม้อพักไอเสีย
   
          
2.ต่อท่อที่ปั้มเชื้อเพลิงเพื่อป้องกันน้ำมันเชื้อเพลิงที่ตกค้างที่ปั้มเกิดการระเหยเป็นไอ
          สารตัวเติมในน้ำมันเบนซิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำมันเบนซิน
1. สารป้องกันการน็อค เป็นสารตะกั่ว(TEL (C2H2)) เพื่อเป็นการเพิ่มค่าการป้องกันการน็อคให้กับเครื่องยนต์
2. สี เพื่อเป็นการแยกประเภทของน้ำมัน ธรรมดา พิเศษ
3. สารป้องกันการรวมตัวของออกซิเจน เพื่อป้องกันยางเหนียวรวมตักับออกซิเจน
4. สารป้องกันการกัดกร่อน เพื่อป้องกันน้ำมันเบนซินละลายโลหะที่ใช้กับระบบน้ำมันเชื้อเพลิง เช่นทองแดง
5. สารหล่อลื่น เป็นการป้องกันยางเหนียวในระบบไอดี
6. สารป้องกันการเกิดเกล็ดน้ำแข็ง เป็นการป้องกันการเกิดเกล็ดน้ำแข็งที่นมหนูหลักในคาร์บูเรเตอร์
7. สารป้องกันการติดไฟเร็วกว่ากำหนด
          การเผาไหม้ การเผาไหม้ภายในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาอันสั้น โมเลกุลของน้ำมัน
          เชื้อเพลิงกับอากาศ ผสมกันอย่างถูกต้องตามทฤษฎี (14.7 : 1) ประกอบด้วยออกซิเจน 20 % เมื่อเกิดการเผา
          ไหม้จะรวมตัวกันกับออกซิเจนเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
          การเผาไหม้สมบูรณ์ เมื่อส่วนผสมของไอดีถูกอัดให้มีอุณหูมิสูงขึ้นในจังหวะอัดหัวเทียนจะจุดประกายไฟใน
          จังหวะจุดระเบิด เชื้อเพลิงจะค่อย ๆ ลุกไหม้แผ่ขยายออกไปอย่างช้า ๆ จนสุดห้องเผาไหม้อีกด้านหนึ่งจึงทำให้
          เกิดแรงดันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ผลักดันลูกสูบให้เคลื่อนที่ลงในจังหวะระเบิด
          การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เป็นสาเหตุทำให้เครื่องยนต์เกิดการน็อคขึ้นที่ผนังกระบอกสูบและห้องลูกสูบเนื่อง
          จากแรงดันที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วภายในห้องเผาไหม้ สาเหตุการน็อคนี้เกิดจากการเผาไหม้ซ้อนกัน แบ่งลักษณะ
          ของการเผาไหม้ออกเป็น 2 ลักษณะ
          1. ดีโทเนชัน(detonation) เป็นการน็อคที่เกิดจากการที่เครื่องยนต์มีอัตราส่วนการอัดสูง ส่วนผสมของไอดีที่อยู่
          ตรงข้ามกับหัวเทียนเกิดการลุกไหม้ขึ้นเองอย่างรวดเร็วในขณะหัวเทียนจุดประกายเผาไหม้ไอดีเช่นกันทำให้เกิด
          คลื่นแรงดันปะทะกันอย่างรุนแรงขึ้นบริเวณหัวลูกสูบ สาเหตุเกิดขึ้นเนื่องจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีค่าความต้าน
          ทานการน็อคที่ต่ำ


         2.
การชิงจุด (pre-ignition) เป็นการน็อคซึ่งเกิดขึ้นหลังจากหัวเทียนจุดประกายไฟหรือเมื่อปิดสวิทซ์จุดระเบิด
         เนื่องมาจากเกิดจุดร้อนขึ้นภายในห้องเผาไหม้ สาเหตุมาจากการเกิดเขม่าหรือการใช้หัวเทียนที่ร้อนจัดเกินไป
         ความร้อนจากจุดร้อนแดงนี้ทำให้เชื้อเพลิงเกิดการลุกไหม้ขึ้นในจังหวะอัดก่อนที่หัวเทียนจะเริ่มจุดประกายไฟ
          ค่าออกเทน( octane number) เป็นคุณภาพของน้ำมันเบนซินในการต่อต้านการน็อคจากการลุกไหม้ขึ้น
          เองของน้ำมันเบนซิน ออกเทนที่มีค่าสูง ๆ นั้น ยิ่งค่าสูงเท่าไหร่การเผาไหม้กลับยิ่งช้าลงเท่านั้น
          น้ำมันค่าออกเทนต่ำกว่ามาตรฐาน น้ำมันค่าออกเทนต่ำจะมีการเผาไหม้อย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้จากอง
          ศาการจุดระเบิดที่กำหนดไว้น้ำมันจะมีการเผาไหม้หมดไปเรียบร้อยแล้วก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนขึ้นไปจนถึง
          จุดสูงสุด ทำให้กลายเป็นแรงกระแทกลูกสูบกลับลงมาสวนทางกับการหมุนขึ้นของลูกสูบเกิดเป็นเสียงเคาะ
          ที่เรียกว่า เครื่องน็อค ให้ได้ยิน ดังนั้นการแก้ไขถ้าไม่เปลี่ยนน้ำมันให้มีค่าออกเทนสูงขึ้นเพื่อระยะเวลาการ
          เผาไหม้หรือแก้ไขด้วยการปรับตำแหน่งองศาการจุดระเบิดใหม่ได้โดยการตั้งไฟให้อ่อนกว่าปกติ เช่น เครื่อง
          ยนต์ Toyota 2E ถ้าใช้น้ำมันค่าออกเทน 90 จะตั้งองศาจุดระเบิด 10 ° ก่อนศูนย์ตายบน แต่พอใช้น้ำมันค่า
          ออกเทน 85 ต้องตั้งองศาจุดระเบิดอ่อนลงเป็น 5 ° ก่อนศูนย์ตายบนการปรับองศาจุดระเบิดโดยการขยับตัว
          เรือนจานจ่าย ตามอ่อนย้อนแก่ ส่วนรถรุ่นใหม่จะมีตัวน็อคเซ็นเซอร์คอนตรวจจับอาการน็อคของเครื่องยนต์
          ให้มีการปรับองศาไฟจุดระเบิดอ่อนลงเองโดยอัตโนมัติ
          น้ำมันค่าออกเทนสูงกว่ามาตรฐาน จากลักษณะการเผาไหม้ที่ช้าลงของน้ำมันเชื้อเพลิงค่าออกเทนสูงจะ
          ทำให้การจุดระเบิดยาวนานขึ้น โดยอาจจะมาสิ้นสุดตอนที่ลูกสูบผ่านจุดศูนย์ตายบนและกำลังเคลื่อนตัวกลับ
          ลงมาย่อมมีผลกับการทำงานของเครื่องยนต์ทำให้มีประสิทธิภาพไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร เมื่อเราใช้น้ำมันชื้อเพลิง
          ค่าออกเทนสูงขึ้นแม้กำลังเครื่องยนต์จะดีขึ้นแต่ก็ต้องเสียการทำงานที่ราบเรียบการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีค่า
          ออกเทนสูงเกินเลยไปมาก ๆ จนกระทั่งไม่สามารถตั้งองศาไฟจุดระเบิดช่วยได้แม้จะเป็นจุดระเบิกแบบอิเล็ค
          ทรอนิคส์ก็ตาม

          
น้ำมันเชื้อเพลิงที่ดีคือน้ำมันที่มีค่าออกเทนเหมาะสมกับรูปแบบของเครื่องยนต์ ซึ่งความแตกต่างในความต้อง
          การของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดมันขึ้นอยู่กับกำลังอัด รอบเครื่องยนต์ รูปแบบห้องเผาไหม้ ระบบจ่ายเชื้อเพลิง
          ระบบจุดระเบิด จะใช้เครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับระดับค่าออกเทนต้องถามบริษัทผู้ผลิตหรือจากหนังสือคู่มือประ
          กอบ และสังเกตดูปฏิกิริยาของเครื่องยนต์หลังจากเติมน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว ถ้าพบว่าเครื่องยนต์น็อคหรือมีเสียง
          น็อคยามหักเลี้ยวที่รอบเครื่องยนต์ต่ำ กำลังเครื่องยนต์ตกต่ำกว่าเดิม แสดงว่าใช้น้ำมันมีค่าออกเทนต่ำไป
          น้ำมันดีเซล หมายถึงน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลบางคนเรียกว่าน้ำมันโซล่า ในวงการน้ำมันเรียกว่า
          แก๊สออยล์(Gas oil) น้ำมันดีเซลโดยทั่ว ๆ ไปมีคุณสมบัติดังนี้

          
ต้านทานการน็อค ตัวควบคุมการน็อคเครื่องยนต์ดีเซลได้แก่ ซีเทนนัมเบอร์(CN) น้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีซีเทนนัม
          เบอร์สูงพอที่จะไม่ทำให้เกิดการน็อค

          
การติดเครื่อง เครื่องยนต์จะติดง่าย การระเหยกลายเป็นไอของน้ำมันถ้าดีก็จะช่วยให้เครื่องยนต์ติดเครื่องง่ายขึ้น

          
ควันไอเสียและกลิ่น ไอเสียควรจะไม่มีควันหรือกลิ่น น้ำมันจึงควรมีการระเหยดีเพื่อการเผาไหม้ที่สมบูรณ์

          
การกัดกร่อนและสึกหรอ ก่อนหรือหลังการเผาไหม้น้ำมันไม่ควรมีสารที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนและสึกหรอ
          เช่น กำมะถัน

          
การขนย้ายและเก็บรักษา ต้องสะดวกและปลอดภัย
          ชนิดของน้ำมันดีเซล น้ำมันดีเซลของเครื่องยนต์ดีเซลปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ชนิด

          
1D ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรอบจัด
          2D ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรอบปานกลาง

          
4D ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรอบช้า

เราสามารถแบ่งประเภทของเครื่องยนต์จากการเผาไหม้    ออกได้เป็น 2  ประเภทดังนี้
  • เครื่องยนต์สันดาปภายใน  (  Internal  combustion engine)    การเผาไหม้เกิดขึ้นในเครื่องยนต์  มีอยู่หลายแบบ   เช่น  เครื่องยนต์เบนซิน  เครื่องยนต์โรตารี่  และ เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์     แต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป
  • เครื่องยนต์สันดาปภายนอก  (external  combustion engine)  การเผาไหม้เกิดขึ้นนอกเครื่องยนต์   เช่น เครื่องจักรไอน้ำ   มีให้เห็นอยู่ในรถไฟรุ่นเก่า   และ เรือกลไฟ   เชื้อเพลิงได้จากถ่านหิน ไม้   น้ำมัน หรืออะไรก็ได้ที่เผาและได้พลังงาน ไปเปลี่ยนน้ำจากของเหลวไปเป็นไอน้ำความดันสูงผลักดันชิ้นส่วนของเครื่องจักรให้เคลื่อนไหว   การสันดาปภายนอกทำให้สูญเสียพลังงานความร้อนออกสู่ภายนอกโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์มาก  ดังนั้นประสิทธิภาพจึงต่ำกว่า เครื่องยนต์สันดาปภายในมาก  และเครื่องจักรไอน้ำมีขนาดใหญ่  เป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่า  เครื่องยนต์ในปัจจุบัน  จึงไม่ได้ใช้เครื่องจักรไอน้ำอีกเลย

ประวัติความเป็นมาของเครื่องยนต์
บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
ประวัติความเป็นมาของเครื่องยนต์  
   
          การที่ปัจจุบันเราจะได้อาศัยยานพาหนะ
เครื่องจักร เครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ มาอำนวยความสะดวก
แก่คนเราทุกวันนี้ ล้วนแล้วแต่เกิดจากแนวคิดนตนาการ ความสามารถของมนุษยที่มีวิวัฒนาการความคิดในการ
ประดิษฐ์สิ่งที่เป็นนามธรรม ให้กลายเป็นรูปธรรม
โดยอาศัยแนวคิด ทฤษฎีต่าง ๆ บุคคลเหล่านั้น
คือนักวิทยาศาสตร์
เครื่องจักร เครื่องยนต์ต่าง ๆ ซึ่งกว่าจะมาเป็นรถยนต์
จักรยานยนต์ และเครื่องจักรย่อมมีวิวัฒนาการประวัติ
ความเป็นมาที่ยาวนาน   ดังนี้
         - ค.ศ. 1794 ( พ.ศ. 2337) โรเบริ์ต สตรีท
( Robert Street ) ชาวอังกฤษสร้างเครื่องยนต์
เผาไหม้ภายในเครื่องแรก
           - ค.ศ. 1824( พ.ศ. 2367) ซาดี คาร์โน
( Sadi Carnot) ค้นคว้าเพิ่มเติมของสตรีทให้ดียิ่งขึ้น
           - ค.ศ. 1862( พ.ศ. 2405) โปเดอร์ โรชา
( Beau De Rochas)ชาวฝรั่งเศส ได้พิมพ์เอกสาร
หลักการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะเป็นครั้งแรก
โดยเน้นหลักการต่อไปนี้
1.การอัดตัวของส่วนผสมของน้ำมันกับอากาศสูงสุดที่จุด
เริ่มต้นของการขยายตัวเท่าที่จะเป็นไปได้
2. การขยายตัวมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
3. การขยายตัวรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
4. ปริมาตรความจุของกระบอกสูบมากที่สุด โดยมี
พื้นที่ระบายความร้อนน้อยที่สุด     
     - ค.ศ. 1872( พ.ศ. 2415) เบรย์ตัน ( Brayton)
ชาวเยอรมันนี ได้พัฒนาเครื่องยนต์สามารถใช้พาราฟิน และน้ำมันปิโตเลียมหนักเป็นเชื้อเพลิง           
     - ค.ศ. 1876( พ.ศ. 2419) ดร.ออตโต
( Dr.N.A.Auto) ชาวเยอรมันนี
สร้างเครื่องยนต์ 4 จังหวะตามหลักการของโรชา
และปรับปรุงให้มีประสิทธฺภาพสูงขึ้น ได้มีการประดิษฐ์ยานพาหนะทางบกที่ขับเคลื่อนด้วย
กำลังของตัวเองมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ผลสำเร็จ
ของการประดิษฐ์ เกิดขึ้นในปี 1876 นี้เอง
ต่อมาในปี ค.ศ. 1880 ( พ.ศ. 2422) มีความเจริญ
ก้าวหน้าอย่างมากเกิด
ขึ้นในเยอรมัน เมื่อ เดทเลอร์ ( Gottlieb Daimler)
และเบนซ์ ( Carl Benz) ทำงานร่วมกับมาย บัค
( Maybach) ได้ประดิษฐ์
เครื่องยนต์เครื่องแรก ปี ค.ศ. 1883 ( พ.ศ. 2425) โดยเครื่องยนต์ที่เขาประดิษฐ์ขึ้นนี้มีความเร็วรอบ
มากกว่าของออตโต ถึง 4 เท่า
คือความเร็วเท่ากับ 900 รอบต่อนาที
- ค.ศ. 1883 (พ.ศ. 2425) ผลิตเครื่องยนต์ที่เขา
ประดิษฐ์ขึ้นนี้มีความเร็ว
รอบมากกว่าของ ออตโต ถึง 4 เท่า คือ
ความเร็วเท่ากับ 900 รอบต่อนาที
- ค.ศ. 1884 (พ.ศ. 2426) เดมเลอร์ติดตั้งเครื่องยนต์
แรงม้าบนรถจักรยานยนต์
- ค.ศ.1881(พ.ศ.2423) เซอร์ดูกาล์ดเคลิก
( Sir Dugalald Clerk) ชาวอังกฤษประดิษฐ
์เครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2 จังหวะ
- ค.ศ.1892(พ.ศ.2435) ดร. รูดอร์ฟ ดีเซล
( Dr.Rudolf Diesel) ชาวเยอรมันนีสร้าง
เครื่องยนต์ดีเซลโดยมีการนำเอาอัดอากาศร้อน
แล้วฉีดเชื้อเพลิงเข้าไปเผาไหม้แล้ว
เกิดความร้อนและความดัน ดันลูกสูบให้เคลื่อน
ที่ระบบจุดระเบิดด้วยแมกนีโต และหัวเทียนมาใช้กับ
เครื่องยนต์แก๊สโซลีน
- ค.ศ.1892(พ.ศ.2435) มีการนำเอาระบบจุด
ระเบิดด้วยแมกนีโต และหัวเทียนมาใช้กับ
เครื่องยนต์แก๊สโซลีน
- ค.ศ. 1893 (พ.ศ. 2436) มายบัค
ประดิษฐ์คาร์บูเรเตอร์ที่ใช้ระบบนมหนู
- ค.ศ. 1894 (พ.ศ. 2437) เบนซ์
ประดิษฐ์เครื่องยนต์ 2 แรงม้า
- ค.ศ. 1895 (พ.ศ. 2438) พันนาร์ด ( Pannard) ได้สร้างรถแบบปิดขึ้น และพี่น้องมิชลิน ได้ผลิตยางแบบเติมลมสำเร็จ
- ค.ศ. 1897 (พ.ศ. 2440) มอร์ ( Mors )
ชาวฝรั่งเศสได้ผลิตเครื่องยนต์ 8 สูบ ( V- 8)
แกรฟ และสตีฟ แห่งออสเตรียได้ผลิตรถยนต์
แก๊สโซลีนขับเคลื่อนล้อหน้า
- ค.ศ. 1898 (พ.ศ. 2441) เดมเลอร์
ผลิตเครื่องยนต์ 4 สูบเรียง
- ค.ศ. 1899 (พ.ศ. 2442) เดมเลอร
์ผลิตหม้อน้ำ เกียร์ และการเร่งด้วยเท้าเรโนลท
์ แห่งฝรั่งเศส ได้ผลิตเพลาโดยมีข้อต่ออ่อนได้
- ค.ศ. 1901 (พ.ศ. 2444) เดมเลอร์ ผลิตรถเบนซ์ขึ้น จัดได้ว่าเป็นเครื่องยนต์สมัยใหม่เครื่องแรก
- ค.ศ. 1902 ( พ.ศ. 2445) สำปเดอร์ แห่งฮอลแลนด์
ได้ผลิตรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ
ใช้เครื่องยนต์ 6 สูบเรียง
- ค.ศ. 1903 ( พ.ศ. 2446) แอดเลอร์แห่งเยอรมันได้จดทะเบียนเพลาท้าย
อิสระซึ่งออกแบบโดย
ดร.อี รัมเพลอร์ และบอร์ ขายรถที่ติดตั้งช็คอัพ
เมาสเลย์ แห่งอังกฤษ ผลิตเครื่องยนต์ที่ใช
้เครื่องยนต์ O.H.C. และแอดเลอร์ แห่งฝรั่งเศส
ผลิตเครื่องยนต์ V 8
- ค.ศ. 1907 ( พ.ศ. 2447) อัศวิด แห่งอเมริกา ผลิตเครื่องยนต์ที่ใช้ซูเปอร์ชาร์ด
- ค.ศ. 1908 ( พ.ศ. 2448) ฟอร์ด ผลิตรถยนต
์แบบโมเดล-ที และได้ผลิตระบบขุดระเบิดที่ใช้คอยล์
และจานจ่าย ส่วนเอร์เบอร์ต
ฟรูด ชาวอังกฤษ ใช้ใยหินทำผ่าเบรก และผ้าคลัทช์
- ค.ศ. 1909 ( พ.ศ. 2449) คลิสตี้ ชาวอเมริกันติดตั้ง
เครื่องยนต์ 4 สูบ และเกียร์กับรถยนต์ขับล้อหน้า
- ค.ศ. 1911 ( พ.ศ. 2451) คาลิแลค แนะนำ
การสตาร์ด้วยไฟฟ้า และระบบไฟแสงสว่างกับไดนาโม
- ค.ศ. 1912 ( พ.ศ. 2452) เปอร์โย แนะนำเครื่องยนต์
ที่ใช้เพลาลูกเบี้ยวคู่
- ค.ศ. 1913 ( พ.ศ. 2452) อังกฤษ ใช้คาร์บูเรเตอร์
แบบสุญญากาศคงที่ (S.U.)
- ค.ศ. 1919 ( พ.ศ. 2458) อิสปาโน ซุบซา แห่งสเปน
ใช้เบรกแบบช่วยเพิ่มพลัง
   หลักจากนั้นก็ได้มีนักประดิษฐ์อื่น ๆ ที่คิดประดิษฐ์ส่วนประกอบต่าง ๆ ของรถยนต์อีกมากมายจนทำให้เป็นรถยนต์ที่สมบูรณ์แบบในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามความ
เจริญก้าวหน้าของรถยนต์ ก็ยังไม่มีหยุดยั้งยังต้องมีผู้ประดิษฐ์ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆกับรถยนต์ ต่อไปอีก อย่างไม่หยุดยั้ง